Learning Outcomes 5

Monday 2th September 2019



❤ ความรู้ที่ได้รับ


      วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เรื่องต่างๆและการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ดังนี้........
หลักการการสอนในแต่ละครั้งต้องเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวเด็ก ตั้งหลักการต้องมีผลกระทบเพ่อให้เด็กนั้นได้แก้ไขปัญหา
การเล่น คือ เด็กได้ลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำด้วยตนเอง
ทุกการเคลื่อนไหวของคุณครู คือ ประสบการณ์ของเด็ก เด็กจะจดจำสิ่งต่างๆที่คุณครูได้ทำ
การเคลื่อนไหว ช่วยให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเคลื่อนไหวแบบกล้ามเนื้อมือประสานสัมพันธ์กับตา คือ การปา โยน ขว้าง
การเคลื่อนไหวแบบกล้ามเนื้อขาประสานสัมพันธ์กับตา คือ การเตะ วิ่ง เดิน
สมรรถนะที่เด็กปฐมวัยต้องมีการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมทั้งความสามารถในการเคลื่อนไหว และสุขภาวะทางกาย พัฒนาการด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านการคิด และสติปัญญา ด้านภาษา ด้านจริยธรรม และด้านการสร้างสรรค์ของเด็กเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึง สมรรถนะของเด็กปฐมวัยพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู จึงต้องจัดกระบวนการ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสมรรถนะตามวัยอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กในวัยนี้ได้อย่างเหมาะสม
ประสบการณ์สำคัญ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ด้านร่างกาย 
      การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
ด้านอารมณ์ จิตใจ
      รู้สึกสนุกตามเสียงดนตรีและมีความสุขกับการทำกิจรรม
 ด้านสังคม
      มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่เล่นร่วมกัน 
ด้านสติปัญญา
      การจำ
เป้าหมายกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มี 6 ประเภท
     1.การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
     2.การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
     3.การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์
     4.การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
     5.การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
     6.การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง

      ต่อมาอาจารย์ได้ให้เขียนกิจกรรมพื้นฐานและกิจกรรมสัมพันธ์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ตามหน่วยการเรียนรู้เดิมของกลุ่มในอาทิตย์ที่ผ่านมา และออกมาทดลองสอนตามกิจกรรมที่เขียนไว้ แต่มีเพื่อนออกไปทดลองสอนบางคนเท่านั้นเนื่องด้วยเวลาหมดก่อน อาจารย์จึงให้กลับไปอัดคลิปการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวตามแผนที่เขียน




❤ การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจ ฟังอาจารย์สอน แต่งกายสุภาพ 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้ความรู้ใหม่ๆ ให้นักศึกษาเข้าใจสิ่งต่างๆมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น